0610367888  0907099666  

cancer
ผลการรายงานโรคมะเร็งรังไข่

  ผลตรวจมะเร็งรังไข่เป็นหลักฐานทางพยาธิวิทยาที่สำคัญของแพทย์ด้านมะเร็งในการกำหนดแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วย แต่เนื่องจากในผลตรวจมีการใช้ศัพท์เทคนิคค่อนข้างมาก มีผู้ป่วยและญาติโรคมะเร็งรังไข่ไม่น้อย ที่ไม่สามารถเข้าใจได้ เพื่อที่จะทำให้ทุกท่านเข้าใจในศัพท์เทคนิคที่อยู่ในผลตรวจมากขึ้น เราได้รวบรวมศัพท์เทคนิคเบื้องต้นที่พบเห็นได้บ่อยในผลตรวจมะเร็งรังไข่

  หากท่านอยากทราบเนื้อหาในผลตรวจโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโดยละเอียดมากขึ้น สามารถสอบถามออนไลน์หรือโทรสอบถามโดยตรงได้ที่ สำนักงานกรุงเทพฯ : 082-799-2888 02-645-2799 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตอบข้อสงสัยและไขความกระจ่างให้ท่าน

มะเร็งรังไข่,ผลการตรวจมะเร็งรังไข่,รพ.มะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแสตมฟอร์ด

  1. การแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่

  โดยใช้หลัก FIGO2009 เป็นเกณฑ์มาตราฐานในการแบ่งระยะ ขั้นตอนทางพยาธิวิทยาของการผ่าตัดมะเร็งรังไข่คือ

  ระยะที่ 1 : มะเร็งเกิดภายในรังไข่

  ระยะที่ 2 : ก้อนเนื้ออาจอยู่ที่รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างและมีการกระจายไปยังกระดูกเชิงกราน

  ระยะที่ 3 : ก้อนเนื้ออาจอยู่ที่รังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีการแพร่กระจายภายในโพรงในช่องท้องโดยได้รับการยืนยันด้วยกล้องจุลทรรศน์และมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ตับ

  ระยะที่ 4 : มีการแพร่กระจายออกมาภายนอกโพร่งช่องท้อง น้ำในช่องท้องมีเซลล์มะเร็งปนอยู่ภายในและมีการลุกลามไปที่ตับ

  2. ความแตกต่างระหว่างมะเร็งรังไข่กับถุงน้ำรังไข่

  ถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Cyst) เป็นถุงที่เต็มไปด้วยสารน้ำหรือกึ่งเหลวที่เกิดขึ้นอยู่ด้านบนหรือข้างในรังไข่ ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีถุงน้ำรังไข่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง แต่อาจทำให้เกิด ดังต่อไปนี้ เจ็บปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน ปวดท้องปวดปัสสาวะบ่อยและปวดก่อนช่วงเริ่มและหมดประจำเดือน ส่วนสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีซีสต์รังไข่ก็มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็ง

  พวกเราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ สามารถจองคิวออนไลน์หรือติดต่อจองคิวได้ที่ : 082-799-2888 02-645-2799

  3. ความแตกต่างระหว่างมะเร็งท่อนำไข่ มะเร็งรังไข่และมะเร็งในช่องท้อง?

  ท่อนำไข่ถือเป็นแหล่งกำเนิดต้นๆของมะเร็งรังไข่ ซึ่งในความเป็นจริงมะเร็งไม่ค่อยแพร่กระจายจากส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปยังท่อนำไข่ แต่พวกมันมักจะแพร่กระจายไปยังรังไข่ ส่วนมะเร็งในช่องท้องเกิดขึ้นในเยื่อบุช่องท้อง โดยครอบคลุมพื้นผิวของช่องท้องและอวัยวะอื่น ๆ ถึงแม้ว่าแหล่งกำเนิดของมะเร็งชนิดนี้จะแตกต่างจากปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตามมะเร็งรังไข่มะเร็งท่อนำไข่และมะเร็งในช่องท้องมักได้รับการรักษาโดยใช้วิธีการและเทคนิคเดียวกัน

  4.ค่าดัชนีของมะเร็งรังไข่ CA125 เพิ่มขึ้น บ่งบอกถึงอะไร

  CA125 เป็นตัวบ่งชี้ค่าของมะเร็งรังไข่ เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ใช้ในการประเมินผลการรักษาโรคมะเร็งรังไข่ ความไวของยาเคมีบำบัดและการที่มะเร็งมีอาการกำเริบหลังการรักษา ค่าปกติของ CA125 ในเลือดของผู้หญิงที่มีสุขภาพดีจะมีค่าน้อยกว่า 35 U / mL แต่หากค่า CA125 สูงก็ไม่ได้แปลว่าจะเป็นมะเร็งรังไข่เสมอไป สาเหตุที่ค่า CA125 สูงอาจเกี่ยวพันกับมะเร็งชนิดอื่นที่พบบ่อย เช่นมะเร็งในช่องท้อง มะเร็งท่อนำไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม ค่าCA125 ส่วนใหญ่พบได้ในเยื่อบุผิวของก้อนเนื้อที่รังไข่ของผู้ป่วย(ถุงน้ำที่มีเซลล์เนื้อร้าย) 80% ของผู้ป่วยที่มีเนื้องอกที่เกี่ยวกับรังไข่จะมีค่าซีรัม CA125 ที่สูง แต่เกือบครึ่งหนึ่งของมะเร็งในระยะแรกค่าซีรัม CA125ไม่ได้สูง ดังนั้นจึงไม่ใช้สำหรับการตรวจวินิจฉัยมะเร็งรังไข่เยื่อบุผิวในระยะแรก

  หากท่านมีข้อสงสัยในผลตรวจทางพยาธิวิทยาของมะเร็งรังไข่ สามารถสอบถามออนไลน์หรือโทรสอบถามโดยตรงได้ที่ : 082-799-2888 02-6452799 ผ่านสำนักงานกรุงเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งยินดีไขข้อข้องใจให้แก่ท่าน

  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งแห่งรพ.มะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว กล่าวว่า :ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงคำอธิบายผลตรวจทางพยาธิวิทยาของมะเร็งรังไข่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อท่านพบกับผลตรวจที่มีเนื้อหาละเอียดมากขึ้น ควรพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษา จึงจะทำให้ผู้ป่วยนั้นได้รับคำแนะนำอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วยเอง

คำหลัก: มะเร็งรังไข่,ผลการตรวจมะเร็งรังไข่,รพ.มะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวแสตมฟอร์ด

ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

ชื่อ นามสกุล *

เลือกประเภทโรค *

เบอร์โทรศัพท์ *

มีผลการตรวจหรือไม่ *

ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
เข้าร่วมงานสัมมนา

*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น