0610367888  0907099666  

cancer
ผลการรายงานโรคมะเร็งเต้านม

  ผลตรวจมะเร็งเต้านมเป็นหลักฐานทางพยาธิวิทยาที่สำคัญของแพทย์ด้านมะเร็ง ในการกำหนดแผนการรักษาให้แก่ผู้ป่วย แต่เนื่องจากในผลตรวจมีการใช้ศัพท์เทคนิคค่อนข้างมาก มีผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยจากโรคมะเร็งรังเต้านมไม่น้อย ที่ไม่สามารถเข้าใจได้ เพื่อที่จะทำให้ทุกท่านเข้าใจในศัพท์เทคนิคที่อยู่ในผลตรวจมากขึ้น เราได้รวบรวมศัพท์เทคนิคเบื้องต้นที่พบเห็นได้บ่อยในผลตรวจมะเร็งเต้านม

  หากท่านอยากทราบเนื้อหาในผลตรวจโรคมะเร็งเต้านมโดยละเอียดมากขึ้น สามารถสอบถามออนไลน์หรือโทรสอบถามโดยตรงได้ที่ สำนักงานกรุงเทพฯ : 082-799-2888 02-645-2799 แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะตอบข้อสงสัยและไขความกระจ่างให้ท่าน

  1.ประเภทของมะเร็งเต้านม

  มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภทได้ตามลักษณะจุลภาคของเซลล์มะเร็ง ซึ่งมะเร็งส่วนใหญ่เป็นเนื้องอกที่มาจากเซลล์เยื่อบุผิว ในความเป็นจริงแล้ว มะเร็งเต้านมจะถูกเรียกว่า「มะเร็งที่เกิดจากต่อม」 ซึ่งเซลล์มะเร็งมาจากเนื้อเยื้อต่อม นอกจากนี้ ยังมีประเภทอื่น ตัวอย่างเช่น เกิดจากกล้ามเนื้อ ต่อมไขมันหรือก้อนเนื้อของระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน จึงจะสามารถแบ่งประเภทมะเร็งเต้านมตามทฤษฎีทางการแพทย์ได้ดังนี้คือ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ มะเร็งเต้านมในแหล่งกำเนิดกับมะเร็งเต้านมที่ลุกลามไปยังท่อน้ำนม

  2.มะเร็งแบบไม่ลุกลามออกนอกท่อน้ำนม มะเร็งแบบลุกลามออกนอกท่อน้ำนม มะเร็งต่อมน้ำนมแบบลุกลาม

  มะเร็งเต้านมชนิดInflammmatory Breast Cancer(IBC)มะเร็ง Paget’s disease ของหัวนม มะเร็งเต้านมชนิดAngiosarcoma คืออะไร

  มะเร็งเต้านมแบบไม่ลุกลามออกนอกท่อน้ำนม(DCIS)หมายถึงมะเร็งที่เกิดในท่อน้ำนมและไม่แพร่กระจาย DCIS เริ่มเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเกิดขึ้นในระดับ DNA ของเซลล์ท่อน้ำนมในเต้านม ทำให้เซลล์เกิดความผิดปกติขึ้น อย่างไรก็ตามเซลล์เหล่านี้จะไม่ได้แพร่กระจายออกนอกท่อน้ำนม

  มะเร็งเต้านมแบบลุกลามออกนอกท่อน้ำนม( invasive ductal carcinoma ,IDC)คือมะเร็งเต้านมแบบลุกลามที่พบบ่อยที่สุด มะเร็งชนิดนี้จะเริ่มจากท่อน้ำนมทะลุผ่านผนังท่อน้ำนมทำให้มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื้อใกล้เคียง และอาจลุกลามโดยผ่านทางต่อมน้ำเหลืองหรือกระแสเลือดก็ได้ ผู้ป่วยประมาณ 10 รายที่พบว่าเป็นมะเร็งแบบลุกลามจะมี 8รา ยที่พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมแบบลุกลามออกนอกท่อน้ำนม

  พวกเราพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ สามารถจองคิวออนไลน์หรือติดต่อจองคิวได้ที่ : 082-799-2888 02-645-2799

  มะเร็งต่อมน้ำนมแบบลุกลาม Invasive lobular carcinoma (ILC) เกิดขึ้นจากต่อมผลิตน้ำนม เรียกว่า lobules และมีความสามารถในการแพร่ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกายได้เหมือน IDC American Cancer Society พบว่าประมาณ 1 ใน 10 ของผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมลุกลามจะเป็นชนิด ILC

  มะเร็งเต้านมชนิดInflammmatory Breast Cancer(IBC)

  มะเร็งเต้านมชนิดนี้มีเพียง 1-3%ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด แต่ก็พบว่าเป็นมะเร็งเต้านมที่รุนแรงที่สุด ลักษณะสำคัญของมะเร็งชนิดนี้คือผิวหนังจะแดงบวมและมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม ซึ่งเกิดจากเซลล์มะเร็งลุกลามมายังผิวหนังและอุดท่อน้ำเหลือง บางครั้ง IBC ระยะแรกๆจะสับสนกับการติดเชื้อของเต้านม(mastitis) และถูกรักษาด้วยยาปฏิชีวนะที่ไม่มีประโยชน์ในการรักษามะเร็งชนิดนี้ IBC มักไม่เห็นก้อนนูนหรือก้อนมะเร็งผิดกับมะเร็งเต้านมชนิดอื่น ทำให้การตรวจใน mammogram สามารถเห็นได้ยาก

  มะเร็ง Paget’s disease ของหัวนมนั้นเป็นรูปแบบหนึ่งของมะเร็งเต้านม ซึ่งพบได้ประมาณ 1% ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด โรคนี้จะเริ่มต้นที่ท่อน้ำนมภายในเต้านมก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังผิวหนังบริเวณหัวนมและลานนม มีอาการคล้ายผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและตกสะเก็ดเล็กน้อยที่หัวนม อาจรวมถึงอาการซ่าๆ คัน เป็นรอยไหม้ ปวด และอาจมีของเหลวไหลออกมาจากหัวนมผู้หญิง

  Angiosarcoma เป็นมะเร็งที่หาได้ยากซึ่งเริ่มขึ้นในเซลล์ที่เป็นเส้นเลือดหรือต่อมน้ำเหลือง เป็นส่วนน้อนที่จะเกิดขึ้นบริเวณทรวงอก บางครั้งจะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยการฉายแสง(จะพบอาการหลังจากฉายแสงผ่านไปแล้ว 5 – 10 ปี) Angiosarcoma มีแนวโน้มที่จะเติบโตและแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและแนวทางในการรักษาจะคล้ายกับ sarcoma ชนิดอื่น ๆ

  3. ระยะ TNM ของโรคมะเร็งเต้านม บ่งชี้ได้ถึงอะไร?

  การแบ่งระยะของมะเร็งแบบ TNM

  การแบ่งระยะโรคแบบ TNM เป็นระบบในการพิจารณาว่ามะเร็งอยู่ในขั้นไหน หรือ Staging ที่มีการใช้วัดค่าและแบ่งระยะของมะเร็งมากที่สุด

  T หมายถึง Tumor คือ ขนาดและตำแหน่งของก้อนมะเร็ง โดยใช้สัญลักษณ์ T1~T4 บ่งบอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของก้อนมะเร็ง

  N หรือ Node (Regional lymph node) คือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้กับก้อนมะเร็ง โดยใช้สัญลักษณ์ N0~N3 บ่งบอกความรุนแรงของโรคจากน้อยไปหามาก

  M หรือ Metastasis (Distant Metastasis) คือ การแพร่กระจายของโรคมะเร็งทางกระแสโลหิตไปยังอวัยวะอื่นๆ โดยใช้สัญลักษณ์ M0~M1 บ่งบอกว่ามีโรคมะเร็งแพร่กระจายแล้ว

  ตามที่ได้มีการแบ่งระยะของมะเร็งตามระบบ TNM นั้น สามารถแบ่งระยะของมะร็งได้อย่างชัดเจนดังนี้ 

  4.มะร็งระยะแพร่กระจายหมายถึงอะไร

  มะร็งระยะแพร่กระจายเป็นสิ่งที่เราเรียกว่ามะเร็งที่แท้จริง เพราะสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ ซึ่งการลุกลามแสดงให้เห็นว่าเซลล์มะเร็งได้บุกรุกเข้าไปลึกจากบริเวณที่เป็นจุดกำเนิด

  ปล.มะเร็งในระยะแพร่กระจายมักจะแสดงออกโดยสัญลักษ์ T โดย T1, T2, T3 และ T4 เป็นส่วนย่อยของระดับการแพร่กระจาย

  5.ระดับความแตกต่างคืออะไร

  ความแตกต่างคือระดับของโรคมะเร็ง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับของความผิดปกติของเซลล์ที่สังเกตได้จากกล้องจุลทรรศน์และมักแบ่งออกเป็น 3 ระดับ highly differentiated (มีความรุนแรงน้อย) moderately differentiated (มีความรุนแรงปานกลาง)และpoorly differentiated (มีความรุนแรงมาก) มะเร็งที่มีความรุนแรงสูงหรือมีความรุนแรงต่ำที่แตกต่างกันก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตและแพร่กระจายได้เร็วขึ้น

  หากท่านมีข้อสงสัยในผลตรวจทางพยาธิวิทยาของมะเร็งเต้านม สามารถสอบถามออนไลน์หรือโทรสอบถามโดยตรงได้ที่ : 082-799-2888 02-6452799 ผ่านสำนักงานกรุงเทพฯ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งยินดีไขข้อข้องใจให้แก่ท่าน

  ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโรคมะเร็งแห่งรพ.มะเร็งสมัยใหม่กว่างโจวระบุว่า :ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงคำอธิบายผลตรวจทางพยาธิวิทยาของมะเร็งเต้านมส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อท่านพบกับผลตรวจที่มีเนื้อหาละเอียดมากขึ้น ควรพบกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำปรึกษา จึงจะทำให้ผู้ป่วยนั้นได้รับคำแนะนำอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงความผิดพลาดจากการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้องของผู้ป่วยเอง

คำหลัก: มะเร็งเต้านม,ผลการตรวจมะเร็งเต้านม,รพ.มะเร็งสมัยใหม่กว่างโจว

ติดตามข้อมูลข่าวสารและเกร็ดความรู้ดีๆจากเราได้ที่

หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

*หมายเหตุ : ผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล

ชื่อ นามสกุล *

เลือกประเภทโรค *

เบอร์โทรศัพท์ *

มีผลการตรวจหรือไม่ *

ติดต่อเรา
คำถามที่พบบ่อย
เข้าร่วมงานสัมมนา

*ประกาศ : การผ่าตัดจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างดีต่อมะเร็งระยะแรก ที่เป็นมะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid Tumor) แต่อาจจะไม่เหมาะในการใช้กับมะเร็งระยะสุดท้าย สำหรับผู้ป่วยระยะกลาง ไปจนถึงระยะสุดท้ายที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ เทคโนโลยีแบบบาดแผลเล็ก บูรณาการร่วมกับการคีโมและการฉายแสง จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับผลลัพธ์ที่ดีมากยิ่งขึ้น